วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ชาวจีนในแผ่นดินสยาม


ประวัติศาสตร์ของชาวจีนอพยพมาประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปี  โดยผมจะแบ่งออกเป็น  ๔ ยุค ดังนี้

๑. สมัยสุโขทัย
ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก
 ๒.สมัยกรุงศรีอยุธยา
ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่มาก โดยส่วนมากจะมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า
๓.สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อครั้นเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม "สิน" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นคนจีน
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล]
การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า ลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง
การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ
๔.สมัยรัตนโกสิทร์
ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วย
การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบ 10 % ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว
ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มในประมาณพ.ศ. 2475 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฏการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย
ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน ในปี พ.ศ. 2513 ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่า 90 % ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้















ภาษาและวัฒนธรรม
ภาษาไทย และภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่คล้ายกัน จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำภาษาจีนจำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติได้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนกลาง กำลังมีสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ


ประเพณีและความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย
          ชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองจีนหลายระลอก นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมานับเป็นกลุ่มคนจำนวนมากที่สุดที่อพยพมาจากประเทศอื่น และยังคงรักษาความเชื่อและประเพณีของตนไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะปรับตัวหรือถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย

          ลักษณะความเชื่อทางศาสนาของชาวจีนในประเทศไทยผสมผสานความเชื่อของพุทธศาสนาการบูชาบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ และการนับถือเทพเจ้า ชาวจีนจะนิยมไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษ ในขณะเดียวกันก็ทำบุญตักบาตรหรือให้ลูกบวชเรียนในพุทธศาสนา โดยไม่ถือว่ามีความขัดแย้งกัน

          ความเชื่อดั้งเดิมที่ชาวจีนรับมาจากบรรพบุรุษที่สำคัญ คือ

          ๑. ลัทธิขงจื้อ  เป็นคำสอนที่มีความสำคัญ ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมไว้อย่างชัดเจน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกหลาน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง หรือผู้ใหญ่กับผู้เยาว์ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับครอบครัว  นอกนั้นยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้คนในระดับต่างๆ ที่สำคัญ คือ การเน้นความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ

          ๒. ลัทธิเต๋า เป็นคำสอนทางปรัชญาที่ว่าด้วยชีวิตกับธรรมชาติ สอนให้บุคคลดำเนินชีวิตโดยไม่ฝืนธรรมชาติ รู้จักตนเอง เอาชนะตนเองรู้จักพอ สอนให้รู้จักสันโดษ สอนว่าการปกครองที่ดีนั้นไม่ควรใช้อำนาจมาก  ไม่ควรมีกฎระเบียบมาก ให้เป็นไปโดยธรรมชาติเหมือนชีวิตในครอบครัวเดียวกัน  ต่อมาเต๋าได้ปรับตัวผสมผสานกับพุทธศาสนานิกายมหายานในจีนทำให้เกิดมีซั่มเมง (ไตรสุทธิ) หรือพระผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม คือ เล่าจื๊อ พ่อนโกสี (เทพผู้สร้างโลก) และ เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นต้น

          ๓. พุทธศาสนามหายาน  นอกจากจะชี้ทางเพื่อการพ้นทุกข์เหมือนคำสอนของพุทธ-ศาสนาฝ่ายเถรวาท ยังมีการผสมผสานกับความเชื่ออื่นๆ  มีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาย  พระพุทธเจ้าองค์สำคัญที่สุด คือ พระอมิตาภะ และพระโพธิสัตว์องค์สำคัญที่สุด คือพระอวโลกิเตศวร หรือกวนอิม หัวใจการปฏิบัติธรรม คือ ต้องมีทั้งปัญญาและกรุณาควบคู่กันไปเน้นการละความเห็นแก่ตัวและทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งเป็นที่มาขององค์กรการกุศลต่างๆ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว ถนนศาลา โรงธรรม เป็นต้น

          ๔. การนับถือเทพเจ้า  เป็นความเชื่อที่เก่าแก่ที่สุดที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดมา มีเทพเจ้าประจำสถานที่ ทะเล ภูเขา ป่า แม่น้ำ บ้านเรือน ประจำอาชีพ เทพเจ้าชั้นสูงที่มีคุณธรรมเป็นเลิศ ได้แก่ เทพเจ้ากวนอู เจ้าแม่ทับทิม เป็นต้น เทพเจ้าชั้นสูงสุด ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าที่ถือว่าเป็นเซียนต่างๆ เช่น โป๊ยเซียน เป็นต้น จะมีศาลเจ้าขนาดต่างๆสร้างไว้ในชุมชนหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อการสักการะ


        
  ประเพณีสำคัญของชาวจีนที่ยังเหลืออยู่และได้รับการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในประเทศไทยมีหลายประเพณีด้วยกัน เช่น ตรุษจีน สารทจีน เช็งเม้ง เทศกาลกินเจ เป็นต้น พิธีกรรมสำคัญในแต่ละช่วงชีวิต ได้แก่ พิธีรับขวัญเด็ก  พิธีแต่งงาน  พิธีแซยิด ครบรอบปีเกิดสำคัญ เช่น ครบห้ารอบ หรืออายุ ๖๐ ปี พิธีกงเต็ก หรือพิธีศพให้ผู้ล่วงลับโดยจัดเครื่อง ในพิธีที่ประกอบด้วยกระดาษรูปทรงสมบัติในบ้านเครื่องใช้ต่างๆ เพื่ออุทิศให้ผู้ตาย






                                                                                                     

บทวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวไทย กับ ชาวจีน มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึง สมัยรัตนโกสินทร์ มีการผสมผสานระหว่างสองชนชาติ  จนยากที่จะสามารถแยกออกจากกันได้  เนื่องด้วยคนไทยจำนวนมากที่มีเชื้อสายจีนอยู่   ซึ่งคนจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยกลสามารถปรับตัวกลมกลืนให้เข้ากับวํฒนธรรมของคนไทยได้มาก จะต่างกับชาวจีนที่อพยบไปอยู่พื้นที่อื่นๆ ของเอเชีย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น ซึ่งยังยึดวัฒนธรรมเดิมอยู่
                แต่วัฒนธรรมหลายอย่างของคนจีนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเขายังคงอยู่ เช่น ตรุษจีน สารทจีน เช็งเม้ง เทศกาลกินเจ เป็นต้น โดยเฉพาะการกินเจ นอกจากชาวไทยเชื้อสายจีกินเจแล้ว  ชาวไทยที่มิใช่เชื้อสายจีนกลับรับประเพณีกินเจมาด้วย  ย่อมแสดงให้เห็นว่ากลมกลื่นทางประเพณี วัฒนธรรมของคนทั้งสองชาติอย่างลงตัว  สิ่งหนึ่งที่ไม่ว่าชาวจีนจะไปอยู่ที่ไหน สิ่งหนึ่งที่คนจีนมักไม่ลืมตัว คือ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณโดยเฉพาะต่อพระมหากษัตริย์  แม้ชาวจีนที่อพยบเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศจะมิใช่ชาวไทยโดยกำเนิด  แต่ด้วยควาที่พวกเขามีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ให้พวกเขามีที่ดินทำกิน ประกอบเลี้ยงชีพ
 ถึงแม้ว่าคนไทยเชื้อสายจีนจำนวนน้อยจะมาสามารถพูดภาษาจีนได้  เพราะได้ถูกผสมผสานเข้ากับคนไทยไปหมดแล้ว  เนื่องจากการปฎิรูปการศึกษา ส่งผลให้คนไทยมีการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีรูปแบบเหมือนกัน และยังใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการด้วย  ทำให้การใช้ภาษาจีนสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนจึงถูกจำกัดในวงแคบๆ หรือบ้างบ้านก็ไม่พูดเลย  อย่างเช่น  ชาวจีนที่มาค้าขายในไทยมานาน  จนสามารถพูดภาษาไทยได้และแต่งงานกับชาวไทยเมื่อมีลูกมักจะพูดภาษาไทยมากกว่าภาษาจีน  เมื่อลูกเข้าโรงเรียนก็จะเรียนแต่ภาษาไทย ทำให้การใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารแทบจะไม่มี เป็นต้น  แต่การเรียนภาษาจีนในปัจจุบันกลับได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภาษาจีนเป็นภาษาที่คนใช้มากที่สุดในโลก อีกทั้งจีนกำลังก้าวไปสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกด้วย  จะเห็นได้ว่าตามโรงเรียนสายสามัญได้เปิดสอนภาษาจีนด้วย 
ปัจจุบันมีย่านที่ชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆของประเทศไทยมากมาย  เช่น เยาวราช   หาดใหญ่  ภูเก็ต   เป็นต้น  โดยแฉพาะเยาวราชถือเป็นย่านที่มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุด หรือที่เรียกว่า "เมืองไทยไชน่าทาวน์"  เป็นแหล่งการค้าที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก   เราจะสามารถเห็นวัฒนธรรมแบบชาวจีนได้ ณ ที่แห่งนี้  ซึ่งแต่วันจะมีผู้คนมาเยี่ยมชมจำนวนมากไม่ต่ำกว่าแสนคน     จึงทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวจีนในประเทศไทยไปแล้ว